วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปบทความเรื่อง การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย



สรุปบทความเรื่อง การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

          การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการสอนข้อความรู้ ซึ่งต่างจากการสอนให้รู้ข้อความรู้ตรงที่การสอนข้อความรู้ต้องการความสนใจ การสังเกต การจำ และการเรียกความจำจากความเข้าใจถ่ายโยงได้ ไม่ใช่การท่องจำซึ่งตรงกับการเรียนวิทยาศาสตร์ที่เป็นการเรียนรู้จากการให้คิดและมีเหตุผล เกิดการเข้าใจมโนทัศน์ เชื่อสานข้อมูลประยุกต์ และสรุปเป็นข้อความรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งในการเรียนวิทยาศาสตร์เด็กต้องพัฒนาทักษะการคิดเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปให้ได้ ตัวอย่าง เช่น เด็กเรียนเรื่องเต่ากับหนู โดยการศึกษาเปรียบเทียบ ค้นหาข้อแตกต่างและข้อเหมือน และนำไปสู่ข้อสรุปว่า เต่ามีลักษณะอย่างไร หนูมีลักษณะอย่างไร (Hendrick, 1998 : 42) ดังนั้นการเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจึงมิใช่การสอนให้รู้ข้อความรู้ เพราะเด็กไม่สามารถรับความรู้นามธรรมได้ เด็กปฐมวัยต้องเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากประสบการณ์
          การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กและธรรมชาติเป็นสาระหลักสำหรับเด็กปฐมวัยในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ดร.ดินา สตาเคิล (Dina Stachel) ของมหาวิทยาลัยเทอาวีพ ประเทศอิสราเอล ได้พัฒนาโปรแกรมมาทาลขึ้น เพื่อใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยเน้นให้เด็กมีความสนุกกับการเรียน รู้จักสร้างสรรค์และคิดสร้างสรรค์ สาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กเรียนจำแนกเป็น 4 หน่วย ดังนี้ (สตาเคิล, 2542 : 12)
หน่วยที่ 1 การสังเกตโลกรอบตัว

หน่วยที่ 2 การรับรู้ทางประสาทสัมผัสและการเรียนรู้
หน่วยที่ 3 รู้ทรงและสิ่งที่เกี่ยวข้อง
หน่วยที่ 4 การจัดหมู่และการจำแนกประเภท
          ในการเรียนหน่วยวิทยาศาสตร์ทั้ง 4 หน่วยดังกล่าว เด็กต้องใช้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ทักษะการสังเกต การจำแนกประเภท การสื่อความหมายและทักษะการลงความเห็นการเรียนวิทยาศาสตร์ไม่ใช่การเปรียบเทียบมิติเดียวเหมือนอย่างเช่นคณิตศาสตร์ แต่การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อหาข้อสรุปคำตอบ ซึ่งเด็กสามารถเรียนรู้วิทยาศาสตร์รอบตัวได้ หากครูจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการเด็ก


ลิงค์บทความ

สรุปโทรทัศน์ครูเรื่อง จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย อ.เฉลิมชัย


จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย อ.เฉลิมชัย

ชื่อหน่วยการเรียนรู้ "เสียงมาจากไหน"

     เสียง เกิดจากการสั่นของแหล่งกำเนิดเสียงและเคลื่อนที่จากแหล่งกำเนิดเสียงทุกทิศทุกทางโดยอาศัยตัวกลางพลังงานจากการสั่นไปยังเยื่อแก้วหูและส่งสัญญาณไปยังสมอง ทำให้เกิดได้ยินเสียง 

     แหล่งกำเนิดเสียงที่สั่นด้วยความถี่ต่ำจะทำให้เกิดเสียงต่ำหรือเสียงทุ้ม แต่ถ้าแหล่งกำเนิดเสียงสั่นด้วยความถี่สูงจะเกิดเสียงสูงหรือเสียงแหลม มนุษย์จะได้ยินเสียงที่มีความถี่ระหว่าง 20 – 20,000 เฮิรตซ์ เสียงดนตรีมีระดับเสียงสูงต่าแตกต่างกัน ถ้าเสียงความถี่หนึ่ง ๆ มาถึงหูมีพลังงานมากจะทำให้ได้ยินเสียงดังมากกว่าเสียงที่มีพลังงานน้อย 

     เสียง เป็นพลังงานอย่างหนึ่งที่เกิดจากการสั่นจากวัตถุที่เป็นแหล่งกำเนิดเสียงโดยอาศัยตัวกลาง ซึ่งได้แก่ ของแข็ง ของเหลว และอากาศ

     เกิดจากการสั่นของวัตถุด้วยความถี่สูงจะเกิดเสียงสูงหรือเสียงแหลม แต่ถ้าเกิดสั่นของวัตถุด้วยความถี่ต่าจะเกิดเสียงต่ำหรือเสียงทุ้ม ความถี่มีหน่วยเป็นเฮิรตซ์ ถ้าวัตถุสั่นด้วยพลังงานมากเสียงจะดังมาก ถ้าวัตถุสั่นด้วยพลังงานน้อยจะเกิดเสียงค่อย ความดังมีหน่วยเป็นเดซิเบล

คำถามที่ครูใช้ถามเด็ก

1.เสียงเกิดจากอะไร 
2.ตัวกลางเสียงได้แก่อะไรบ้าง 
3.เสียงสูงเสียงต่ำเกิดจากอะไร 
4.เสียงดังเสียงค่อยเกิดจากอะไร

กิจกรรม

1.ครูและนักเรียนแสดงการทดลองวิทยาศาสตร์ (science show )เรื่องเสียง.เช่นเสียงคลื่นจากเมล็ดถั่วเขียว. เสียงการสั่นของแม่เหล็ก..เสียงดนตรีจากกระป๋องน้าอัดลมเพื่อเร้าความสนใจให้กับนักเรียน จากนั้นให้นักเรียนตอบคาถามว่าเป็นเสียงอะไร ครูทดลองเสียงหลายๆแบบ จากนั้นครูเป่าแตรกระป๋องให้เกิดเสียง ให้นักเรียนซักถามแตรกรกระป๋องเกิดเสียงได้อย่างไร 
2.ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับเสียง ว่าถ้าไม่ได้ยินเสียงจะเกิดอะไรขึ้น โดยใช้คาถาม จากคาถามสร้างพลังความคิด และคาถามประจาหน่วยการเรียนรู้ให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น 
3.ครูให้นักเรียนเอามือจับลาคอแล้วให้นักเรียนพูด เกิดอะไรขึ้นที่ลาคอ จากนั้นให้นักเรียน 1 คนออกมาทดลองหน้าห้องโดยโรยเกลือลงบนแผ่นพลาสติกที่มัดให้ตึงกับตะกร้าแล้วตะโกนลงบนแผ่นพลาสติกว่าเกิดอะไรขึ้นกับเม็ดเกลือ ( เม็ดเกลือสั่น ) แล้วเกิดเสียง หรือให้นักเรียนใช้มือถูกับขอบแก้วทรงสูง จะเกิดอะไรขึ้น 
4. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับเสียงเดินทางอย่างไร (เสียงผ่านตัวกลาง) เช่นครูพูดกับนักเรียน นักเรียนได้ยินเสียง เสียงเดินทางผ่านตัวกลางอะไร จากนั้นครูให้นักเรียน 2 คน ออกมาพูดโทรศัพท์กระป๋องโดยใช้สายโทรศัพท์เส้นเชือก เส้นเอ็น เส้นลวด แล้วฟังเสียง ที่เดินทางมายังหูได้ยินชัดหรือไม่ ครูซักถามว่าเสียงเดินทางอย่างไร ให้นักเรียนในห้องแสดงความคิดเห็น ( ถ้านักเรียนสนใจอยากทดลองนอกห้องก็ให้ทดลองนอกห้องเรียน) 
5.ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มดีดสายยางรัดของที่ตึงกับตะปู เคาะส้อมเสียงแล้วฟังเสียง เกิดเสียงอย่างไร การเคาะขวดที่มีน้า และเคาะขวดที่ไม่มีน้า ครูอธิบายเพิ่มเติมการสั่นเร็วสั่นสั่นช้าของวัตถุ ว่าเกิดเสียงอย่างไร ( เกิดเสียงสูงต่า เสียงดังเสียงค่อย ) 
6.ให้นักเรียนสร้างสรรค์เสียงจากกระป๋อง โดยครูอธิบายวิธีการทำแตรกระป๋อง จากนั้นให้นักเรียนทุกกลุ่มสร้างแตรกระป๋องที่นักเรียนเตรียมมา เมื่อทำแตรกระป๋องเสร็จให้ออกมาเป่าเป็นเสียงต่างๆ ให้เพื่อนจินตนาการและทายว่าเป็นเสียงอะไร ครูส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์โดยให้ตัวแทนนักเรียนออกมาเป่าแตรกระป๋องเป็นเสียงดนตรี
7.ครูซักถามนักเรียนประโยชน์ที่ได้จากการนำกระป๋องมาทำเป็นเสียงดนตรี ว่าให้ประโยชน์อย่างไร แล้วให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดการออกแบบโครงงานการทำโทรศัพท์กระป๋อง 
8.ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปเกี่ยวกับเรื่องเสียง การเกิดเสียง ตัวกลางเสียง และเสียงสูงต่า เสียงดังเสียงค่อย จากนั้นให้นักเรียนไปทำสิ่งประดิษฐ์ที่ทำให้เกิดเสียง แล้วส่งในชั่วโมงต่อไป

สื่อและแหล่งเรียนรู้

1.คำถามชวนคิด
2.ขวดถั่วเขียว 
3.เกลือ 
4.ยางรัดของ 
5.ตะปู 
6.ส้อมเสียง 
7.ขวดใส่น้า 
8.แก้วทรงสูง 
9.อุปกรณ์การทาแตรกระป๋อง 
10.โทรศัพท์กระป๋อง
11.แบบฝึกหัด 



สรุปวิจัยเรื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาตร์นอกห้องเรียน


สรุปวิจัยเรื่อง 

ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม
กระบวนการทางวิทยาศาตร์นอกห้องเรียน

  • การจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
          กระบวนการทางวิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นประเด็นที่สำคัญต่อการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาตร์ให้เด็ก คือ การเปิดโอกาสให้เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยการสัมผัส จับต้อง ดม ชม ได้ยินโดยในการสังเกต การสำรวจ การค้นคว้า การทดลอง หรือจะนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ด้วยก็ได้(การกำหนดปัญหา การตั้งสมมุติฐาน การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ และการสรุปผลประเมินผล) หรือจะการถามคำถามเกี่ยวกับประสบการณ์ที่เด็กได้รับด้วย เพราะจะทำให้เด็กมีพัฒนาการคิด รู้จักหาคำตอบแบบวิทยาศาสตร์และวิเคราะห์อย่างเป็นระบบได้
          การที่พาเด็กไปศึกษาเรียนรู้ดูชีวิตจริง สถานที่จริงนั้นเด็กจะได้รับประสบการณ์ตรงกับสถานที่และสิ่งที่ไปศึกษาจริง แล้วจะทำให้เด็กยังได้รับประสบการณ์อย่างกว้างขว้าง เกิดความสนุกสนานตื่นเต้นอีกด้วย
          การจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนนั้นมีหลายขั้นตอน ดังนั้นควรพิจารณาองค์ประกอบของกิจกรรมที่เหมาะสำหรับการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยในแต่ละช่วงวัย และในการจัดกิจกรรมนั้นจะต้องจัดให้หลากหลายครอบคลุมกับองค์ประกอบของกิจกรรม แต่ในทั้งนี้การจัดกิจกรรมให้กับเด็กก็จะต้องควรคำนึงถึงความสนใจ ความพร้อม และความสามรถของเด็กด้วย 


ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ระดับพื้นฐาน
  1. การสังเกต (Obervation)
  2. การวัด (Measurenent)
  3. การจําแนกประเภท (Classification)
  4. การหาความสัมพันธ์ระหวางสเปสกับสเปสและสเปสกบเวลา  (Spacs / Spacs Reation and Space /Time Relation)
  5. การคํานวน(Using Number)
  6. การจัดทําและสื่อความหมายข้อมูล (Organizing Data and Communication)
  7. การลงความคิดเห็นจากข้อมูล(Infeaing)
  8. การพยากรณ์(Prediction)
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ระดับพัฒนาการ
  1. การตั้งสมมติฐาน (Formulating Hypothesis)
  2. การกาหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining Operation)
  3. การกาหนดและควบคุมตัวแปร (Identifying and Controlling Variables)
  4. การทดลอง(Experiment)
  5. การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป (Interperting Data and Making

การจัดประสบการณ์แบบการศึกษานอกสถานที่
          เป็นการจัดประสบการณ์การศึกษานอกห้องเรียน ทําให้เด็กได้ศึกษาจากสภาพจริงจากสภาพจริง สถานที จริง การออกไปสัมผัสพบสิ งเหล่านี 0 ทําให้เด็กสนุกสนาน อย่างไม่รู้จักเบื อหน่าย ได้รับความรู้และจดจําได้นาน

คุณค่าของการจัดประสบการณ์แบบการศึกษานอกสถานที่

  1. ช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรง
  2. ช่วยให้บทเรียนมีความหมายยิ่งขึ้น
  3. ช่วยให้ฝึกฝนระเบียบวินัย การตรงต่อเวลา และมนุษยสัมพันธ์
  4. ช่วยส่งเสริมการทำงานร่วมกันทั้งก่อนและหลังการทำกิจกรรมทัศนศึกษา
  5. ช่วยให้ผู้เรียนได้ร่วมกิจกรรมการเรียนอย่างเพลิดเพลิน
  6. ช่วยให้การเรียนรู้เป็นไปในลักษณะบูรณาการ
การจัดประสบการณ์แบบการศึกษานอกสถานที่ 
  1. การศึกษานอกสถานที่ในระยะใกล้
  2. การศึกษานอกสถานที่ในระยะทางขนาดกลาง
  3. การศึกษานอกสถานที่ในระยะทางไกล
ลิงค์วิจัย


วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่18 (29/09/56)





















- อาจารย์ให้นักศึกษานำสื่อทั้ง 3 ชิ้นมาส่ง ได้แก่ สื่อของเล่น การทดลอง สื่อเข้ามุม และให้นักศึกษานำการทดลองมาทดลองพร้อมนำเสนอวิธีการสอนให้อาจารย์ดูด้วย
- อาจารย์ก็ได้ชี้แจงเกี่ยวกับงานบล็อคให้นักศึกษาฟังว่า บล็อคอาจารย์จะตรวจวันที่10 ตุลาคม 2556 ซึ่งจะเป็นวันสอบปลายภาควันสุดท้าย ดังนั้นให้นักศึกษาไปทำบล็อคให้เรียบร้อย ในบล็อคก็จะต้อมีงวิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ 1 เรื่องพร้อมสรุป ,บทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ 1 เรื่องพร้อมสรุป ,โทรทัศน์ครูอีก 1 เรื่องพร้อมสรุป และพวกลิงค์ต่างๆ บันทึกการเข้ารียนก็จะต้องให้เรียบร้อย




สัปดาห์ที่17 (25/09/56)


อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคน สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับในการเรียนวิชานี้ 

          animated,display picture,display pictures,picture.graphic,paint.picture,displays,logo design,animate,graphics,background,cartooning,flash,images,ภาพเคลื่อนไหว ,ภาพเคลื่อนไหวน่ารักๆ,ภาพดุ๊กดิ๊ก

สัปดาห์ที่16 (18/09/56)

- อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรม "Cooking" หลังจากที่ได้เขียนแผนและนำเสนอแผนเกี่ยวกับการทำอาหารเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว วันที่ 15 กันยายน 2556

  ขั้นตอนการทำอาหาร "ไข่ตุ๋น"
  1. คุณครูให้เด็กๆนั่งเป็นครึ่งวงกลม
  2. คุณครูอธิบายขั้นตอนการทำ "ไข่ตุ๋น"

วิธีการทำไข่ตุ่น

  • เตรียมเครื่องต่างๆให้ครบ (หั่นแครอทเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าเล็กๆ , แกะข้าวโพดเตรียมไว้ , ซอยผักชีต้นหอมเพื่อใช้โรยหน้า
  • เอาถ้วยสำหรับตุ๋นไข่ เป็นถ้วยกระเบื้อง แบบสองชั้นพร้อมฝาปิดมีขายตามห้างทั้วไป (หากไม่มีก็ใช้ชามก้นลึกแล้วซ้อนกับชามใหญ่กว่า ใส่น้ำอีกใบ ปิดฝาด้วยแรบแทนได้) 
  • ตอกไข่ใส่ไป 2 ฟอง หรือมากเท่าจำนวนที่เราต้องการ  เติมน้ำซุปตามไปอีก 2.5 เท่าของปริมาณไข่ที่เราตอกใส่ไป
  • หลังจากเติมน้ำแล้ว ใช้ส้อมคนเบา อย่าให้เป็นฟองฟอด ปรุงรสตามใจชอบแล้วคนให้เข้ากัน
  • จากนั้นก็ เอาไข่ไปตุ๋นในหม้อข้าวหรือหม้อนึ่งไฟฟ้า
    ที่เตรียมมา ใช้เวลารวม 15-20 นาที 
  • นำเครื่องที่เตรียมไว้ในตอนแรกใส่ลงไป (เครื่องต่างๆ ควรทำให้สุกก่อนจะดีมากกว่าใส่ทั้งดิบๆ เพราะเราต้องเข้าไปเวฟอีกดีกว่า ไข่จะไม่เนียนเพราะให้ความร้อมนานและมากเกินไป)
  • เป็นอันเสร็จเรียบร้อยพร้อมรับประทาน ใช้เวลานานหน่อย แต่อร่อยคุ้ม :))

คุณครูใช้คำถาม ถามเด็กทุกครั้งในการทำอาหาร คำถามที่คุณครูใช้บ่อย คือ 
  1. เด็กๆค่ะ เด็กเห็นอะไรตรงข้างหน้าครูบ้างค่ะ
  2.  เด็กๆค่ะ ถ้าครูใส่อันนี้ลงไป (ส่วนประกอบของไข่ตุ๋น)เด็กๆคิดว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นค่ะ
  3. เด็กๆค่ะ เด็กๆเคยทานไข่ตุ๋นไหมค่ะ
ทักษะที่ได้รับ
  1.     ทักษะการประกอบอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย
  2.  ทักษะการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการประกอบอาหาร
การนำไปประยุกต์ใช้
  1. การจัดกิจกรรม cooking ให้กับเด็กปฐมวัย
  2. การบูรณาการวิทยาศาสตร์ให้เข้ากับกิจกรรมประจำวัน

สัปดาห์ที่15 (15/09/56)

- อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแก้ไขบล็อคของตัวเองให้เรียบร้อย
- ทำกิจกรรม "เขียนแผนการทำอาหาร" (กลุ่ม)

*ไม่ได้มาเรียนเนื่องจากไม่สบายค่ะ

สัปดาห์ที่14 (11/09/56)

*ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากผู้สอนติดภาระกิจทางราชการต่างจังหวัด แต่อาจารย์ได้มอบหมายให้เตรียมเอกสารที่ไปศึกษาดูงานที่ลำปลายมาสมาส่งอาทิตย์ถัดไปให้เรียบร้อย


สัปดาห์ที่13 (04/09/56)


*ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์ติดภาระกิจราชการ แต่อาจารย์ได้มอบหมายงานไว้ คือ  การจัดเตรียมเอกสารเพื่อสรุปการไปศึกษาดูงาน 


สัปดาห์ที่12 (28/08/56)


ไปศึกษาดูงานตั้งวันที่ 27-28 สิงหาคม 2556

ณ สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 
และ 
โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์


วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่11 (21/08/56)


*ไม่มีการเรียน การสอน 
 แต่อาจารย์ได้มอบหมายงานให้ทำ ดังนี้
  1. ทำการทดลองวิทยาศาสตร์
  2. ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ 
  3.  ทำว่าวใบไม้
* กิจกรรมทุกชิ้น  ต้องมีภาพถ่ายลงบล็อค*








สัปดาห์ที่10 (14/08/56)


  • อาจารย์ได้พูดถึงการไปดูงานที่โรงเรียนลำปลายมาศพัมนา และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยนครราชสีมา ว่ามีแต่ละฝ่ายงานมีอะไรบ้างมีหน้าที่อะไรและใครที่ทำหน้าที่อะไรไปจัดการให้เรียบดรียบ
  • อาจารย์ได้เข้าไปดูบล็อกในเซคนี้ ว่านักศึกษาคนใดที่ยังทำบล็อคไม่เรียบร้อย  
  • นักศึกษาคนไหนที่ยังไม่ได้ทำสื่อวิทยาศาสตร์ (การเข้ามุม การทดลอง และของเล่นวิทยาศาสตร์) ลงบล็อคให้นักศึกษาให้นักศึกษาแต่ละคนไปทำลงบล็อคให้เรียบร้อยโดยรูปแต่ละรูปจะต้องเป็นการปฏิบัติงานจริงทั้ง3สื่อ(การเข้ามุม การทดลอง และของเล่นวิทยาศาสตร์)
  •  เชตของพวกเราพอหลังจากหมดเวลา พวกเราก็ปรึกษาหารือกันในเรื่องของการแบ่งฝ่าย ในการเตรียมงาน กลุ่มของเพื่อเราก็แบ่งฝ่ายตามนี้

1.  การประสานงาน  จำนวนคน  7
2. ประชาสัมพัธ์   จำนวนคน 5 
3. ฝ่ายประเมินผล  จำนวนคน 7
4. งบประมาณ จำนวนคน 4
5. ลงทะเบียน  จำนวนคน 6
6. สวัสดิการ  จำนวนคน 7  (กลุ่มดิฉัน รับผิดชอบ)
7. พิธีการ กล่าวขอบคุณ  จำนวนคน 
    7.1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยนครราชสีมา
    7.2  โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

สัปดาห์ที่9 (07/08/56)


*ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ให้นักศึกษาเข้าร่วม

โครงการที่22
โครงการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม
นักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย (ภาคปกติ)
โครการ กายงาม ใจดี ศรีปฐมวัย




           

สัปดาห์ที่8 (31/07/56)



สอบกลางภาค

สัปดาห์ที่7 (24/07/56)

- อาจารย์ให้นักศึกษารวมกันตอบ และซักถามอภิปรายในเรื่องของ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และดูโทรทัศน์ครู เรื่อง Project Approach การสอนแบบโครงการปฐมวัย


สรุปจากแผนผังความคิด (กระบวนการวิทยาศาสตร์)

1.  กระบวนการเบื้องต้น
  • การวัด                
  • การจำแนก          
  •  หาความสัมพันธ์      
  • การคำนวน            
  • การพยากรณ์        
2.  กระบวนการผสม
  • ตั้งสมมติฐาน 
3.  วิธีการจัด
  • จัดเป็นทางการ  
  • จัดไม่เป็นทางการ   
  • จัดตามเหตุการณ์        
 4.   วิธีการเลือกใช้สื่อ
  • การเลือก 
  •  เตรียมอุปกรณ์และทดลองใช้      

เทคนิคการคิดวิคราะห์

  • What
  • Where  
  • When 
  • Why
  • Who
  • How

การเรียนเเบบโครงการ <Project Approach>


วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่6 (17/07/56)

*ไม่มีการเรียนการสอน แต่อาจารย์ได้สั่งงานไว้คือ นักศึกษาคนไหนที่ยังเหลือสื่อวิทยาศาสตร์อันไหนที่ยังไม่ได้ส่งก็ให้โพสลงบล็อคของตัวเองในสัปดาห์นี้ สื่อมีทั้งหมด 3 ชิ้น คือ 
  1. สื่อของเล่น
  2. สือการทดลอง
  3. สื่อเข้ามุม
หัวข้อที่จะเขียนใส่ใบงานที่จะต้องแนบมากับสื่อ คือ
- ชื่อ
- อุปกรณ์
- การเล่น
- หลักการวิทยาศาสตร์
 # มีอะไรเพิ่มเติมก็ใส่ลงไปได้เลย ( ให้มีรูปภาพด้วย )




สื่อของเล่นวิทยาศาสตร์

     เวทีมวยไทย  


  

 อุปกรณ์
1.กล่อง
2.กระดาษสี
3.เชือกสำหรับตกแต่ง
4.กาวและกรรไกร
5.ไม้ไอติม
6.ที่เจาะรู(เป็นปากกาหรือคัตเตอร์ก็ได้)
7.ปากกาสีหรือกากเพชรชนิดผงสำหรับตกแต่ง
วิธีทำ
1.นำกระดาษสีมาห่อกล่องให้สวยงาม
2.วาดรูปนักมวย 2 คน แล้วระบายสีตกแต่งให้สวยงาม
3.เจาะกล่องด้านข้าง 2 ด้าน แล้วเอาไม่ไอติมเสียบลงไป(ข้างละ 1 ไม้)
4.นำไม้ไอติมมาตัดแบ่งครึ่ง แล้วนำไปติดบนกล่องทั้ง 4 มุม
5.นำเชือกสีมาพันรอบไม้ไอติมทั้ง 4 มุมแล้วติดกาวให้เรียบร้อย
6.นำปากกาสีหรือกากเพชรชนิดผงมาตกแต่งให้สวยงาม
7.นำนักมวยทั้ง 2 คนมาไว้บนกล่อง
วิธีการเล่น
เคาะไม้ทั้ง 2 ข้าง ให้ตัวมวยไทยเข้าหากันถ้าตัวไหนเป็นฝ่ายล้มก่อนฝ่ายนั้นคือผู้แพ้


 

สื่อของเล่นเข้ามุมวิทยาศาสตร์


    เขาวงกต   


อุปกรณ์
1.ฝากล่องกระดาษA4
2.กระดาษสี
3.กรรไกรหรือคัตเตอร์
4.กาว
5.ฟิวเจอร์บอร์ด
6.ปากกาหมึกดำ
7.ดินสอ ยางลบ ไม้บรรทัด
8.อุปกรณ์ตกแต่ง เช่น สติกเกอร์ สีน้ำหรือสีไม้ หรือจะวาดรูประบายสีแล้วมาติดตกแต่งก็ได้
9.ลูกแก้ว 1 ลูก
วิธีทำ
1.นำกระดาษสีมาห่อฝากล่องให้เรียบร้อย
2.นำฟิวเจอร์บอร์ดมาตัดเป็นสี่เหลี่ยมให้สามารถใส่ลงไปในฝากล่องA4ได้หลังจากนั้นก็ร่างแบบเขาวงกต โดยจะต้องตีตารางให้เป็นช่องสี่เหลี่ยมเหมือนกระดานหมากรุกก่อน แล้วค่อยวาดแบบเขาวงกตที่เราต้องการ
*จะต้องกำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดด้วย
3.พอได้แบบเขาวงกตแล้ว ก็นำฟิวเจอร์บอร์ดมาตัดให้เป็นกำแพงเขาวงกตตามแบบเลย โดยความสูงของฟิวเจอร์จะต้องไม่สูงเกินฝากล่องA4 (ต้องกะเอา)
4.พอตัดชิ้นส่วนของกำแพงเขาวงกตเสร็จ ก็นำชิ้นส่วนแต่ละชิ้นมาติดตามแบบให้เรียบร้อย
5.ทำเครื่องหมายตรงจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด แล้วก็ตกแต่งให้สวยงาม
วิธีการเล่น 
นำลูกแก้วมาวางไว้ตรงจุดเริ่มต้น แล้วใช้มือบังคับโดยการโยกกล่องไปมาแบบเบาๆจนให้ลูกแก้วไปถึงจุดสิ้นสุดให้ได้ แค่นั้นก็ชนะแล้ว


สัปดาห์ที่5 (10/07/56)

- อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคน เตรียมงานออกไปนำเสนอ สื่อประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ ของแต่ละคน ให้พร้อมและให้พูดถึงสิ่งที่เตรียมมาประดิษฐ์ เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างไร อาจารย์บอกว่าถ้าชิ้นงานชิ้นไหนซ้ำกับเพื่อนก็ต้องออกมานำเสนอ แต่งานชิิ้้นนักศึกษาต้องประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ (ห้ามซ้ำกับเพื่อน)
                       #ฉันทำมาผิด ฉันทำการทดลองมา แต่ไม่เป็นอาจารย์บอกว่าอาทิตย์หน้าให้ทำของเล่นมานำเสนอใหม่


MixDiary_cat_8.gifการทำภูเขาไฟจำลอง  MixDiary_cat_8.gif



ภูเขาไฟภูเขาไฟระเบิดนิยามเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ร้ายแรงอย่างหนึ่ง การระเบิดของภูเขาไฟนั้นแสดง ให้แห้นว่าใต้ผิวโลกของเราลงไประดับหนึ่ง มีความร้อนสะสมอยู่มากโดยเฉพาะที่เรียกว่า "จุดร้อน" ณบริเวณนี้มีหินหลอมละลายเรียกว่า แมกมา


อุปกรณ์ที่ต้องใช้ 
1.ภูเขาไฟจำลอง (ประดิษฐ์ขึ้นเอง) = ดินน้ำมัน ขวดน้ำขนาดเล็ก กระดานไม้อัด กาว อุปกรณ์ตกแต่ง
2.ผงฟู
3.น้ำส้มสายชู
4.สีผสมอาหาร (สีแดงหรือส้ม) 

วิธีการทำภูเขาไฟจำลอง 
1.นำขวดน้ำขนาดเล็กที่เตรียมไว้มาติดที่กระดานไม้อัดให้อยู่ตรงกึ่งกลาง
2.นำดินน้ำมันมาก่อให้เป็นรูปภูเขาไฟ
3.ตกแต่งบริเวณรอบภูเขาไฟให้สวยงาม

วิธีการทำการทดลอง
1.นำผงฟูใส่ลงในภูเขาไฟจำลองที่เตรียมมา
2.ใส่สีผสมอาหารตามลงไป 
3.เทน้ำส้มสายชูลงและรอประมาณ 10 วินาที จะเกิดเป็นฟองไหลออกมาคล้ายลาวาพร้อมกับอธิบายว่า “ฟองที่ไหลออกมานี้เกิดจากการที่น้ำส้มสายชูทำปฏิกิริยากับผงฟู จึงเกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์แล้วไหลออกมา”

สัปดาห์ที่4 (03/07/56)


- อาจารย์ให้นักศึกษาสังเกตของเล่นวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อว่า "กระบอกลุกปิงปอง" และช่วยกันแสดงความคิดเห็นว่า " กระบอกลูกปิงปองนี้ช่วยให้เด็กรับรู้ในเรื่องใด "


*กระบอกลูกปิงปอง สอนเรื่อง แสงทะลุผ่านทำให้มองเห็นลูกปิงปอง*


- ให้นักศึกษาทำสมุดเล่มเล็ก โดยการวาดภาพลงไปหน้าละ 1 ภาพ (ต้องเป็นภาพที่ต่อเนื่องกัน) 

- อาจารย์ให้ดู VDO เรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ และสรุปองค์ความรู้


ลิงค์VDOมหัศจรรย์ของน้ำ  =  http://www.youtube.com/watch?v=vjwkI8oXgg0



มหัศจรรย์ของน้ำ
น้ำเป็นส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิต  และร่างกายของคนเราเมื่อเสียเหงื่อออกมา  เหงื่อนั้นก็คือน้ำ
ที่อยู่ในร่างกายของเรานั่นเอง  น้ำยังช่วยปรับสมดุล  อุณหภูมิในร่างกาย  มนุษย์จึงสามารถขาดน้ำได้เพียง 3 วันเท่านั้น
คุณสมบัติของน้ำ
1.  จากของแข็ง  เป็น  ของเหลว
2.  จากของเหลว  เป็น  ของแข็ง
3.  จากก๊าซ     เป็น  ไอน้ำ
การเกิดฝน
     ฝน เกิดจากอนุภาคของไอน้ำขนาดต่างๆในก้อนเมฆ เมื่อรวมตัวจนมีขนาดใหญ่ขึ้นจนไม่สามารถลอยตัวอยู่ในก้อนเมฆได้ก็จะตกลงมาเป็นฝน  ฝนจะตกลงมายังพื้นดินได้นั้นจะต้องมีเมฆเกิดในท้องฟ้าก่อน เมฆมีอยู่หลายชนิด มีเมฆบางชนิดเท่านั้นที่ทำให้มีฝนตก ไอน้ำจะรวมตัวทำให้เกิด เป็นเมฆ เมฆจะกลั่นตัวเป็นน้ำฝนได้ก็ต้องมีอนุภาคแข็งตัวหรือเม็ดน้ำขนาดใหญ่ซึ่งจะดึงเม็ดน้ำขนาดเล็กมารวมตัว กันจนเป็นเม็ดฝนน้ำที่ตกลงมาจากท้องฟ้าอาจเป็นลักษณะของฝน หิมะ หรือลูกเห็บซึ่งเรารวมเรียกว่าน้ำฟ้า ซึ่งมันจะตกลง มาในลักษณะไหนก็ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของอากาศในพื้นที่นั้นพอฝนตดลงมาถึงพื้น จะมีการไหลของฝนไปรวมตัวกันใต้ดิน ดูดซับไว้ที่ผิวดิน ลงแหล่งน้ำเป็นต้น
     แสงอาทิตย์ที่สาดส่องลงมาที่พื้นโลกจะทำให้ น้ำเหล่านี้ระเหยขึ้นไปสู่ชั้นบรรยากาศอีกครั้ง ประกอบกับไอน้ำที่ได้จากกิจกรรมบางอย่างของสิ่งมีชีวิต เช่นการหายใจของพืช ไอน้ำในบรรยากาศนี้จะรวมตัวกันเป็นเมฆ และก่อให้เกิดฝนตามมาอีก เป็นวัฎจักรเช่นนี้เรื่อยไป
ทักษะที่ได้รับ
1. ทักษะการสรุปองค์ความรู้เป็นแผนผังความคิด
2.  ทักษะการคิด  ทดลอง  และหาข้อเท็จจริง
การนำไปประยุกต์ใช้
1.  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย
2.  การสรุปองค์ความรู้ในประเด็นหลักๆ และในเวลาที่กำหนด  โดยใช้แผนผังความคิด

สัปดาห์ที่3 (26/06/56)


  • อาจารย์ให้ดูและสรุป  VCD  เรื่องความลับของแสง



ลิงค์ VDO ความลับของแสง  =  http://www.youtube.com/watch?v=MPz2EK7PFL0

แสง    
         แสงคือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic wave) ประเภทหนึ่ง ซึ่งอยู่ในช่วงความยาวคลื่นที่สายตามนุษย์มองเห็น หรือบางครั้งอาจรวมถึงการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่นตั้งแต่รังสีอินฟราเรด (Infrared) ถึงรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) ด้วย
         ความถี่ของคลื่นแสงที่แตกต่างกันนั้นขึ้นอยู่กับความเร็วในการสั่นสะเทือน ถ้าหากคลื่นแสงยิ่งมีความสั่นสะเทือนมากก็จะยิ่งมีความถี่มากแต่ความยาวคลื่นก็จะยิ่งน้อย โดยแสงที่เรามองเห็นได้นั้นเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ในระดับที่ดวงตาของมนุษย์สามารถมองเห็นได้ ซึ่งปกติแล้วแสงจะเคลื่อนที่ในสุญญากาศด้วยความเร็ว 299,792,458 เมตรต่อวินาที

จำแนกวัตถุตามการส่องผ่านของแสง ได้ดังนี้

  • วัตถุโปร่งใส คือ วัตถุที่ยอมให้แสงส่องทะลุผ่านได้โดยง่าย
  • วัตถุโปร่งแสง คือ วัตถุที่ยอมให้แสงผ่านไปได้เพียงบางส่วน
  • วัตถุทึบแสง คือ วัตถุที่ไม่ยอมให้แสงผ่านไปได้เลย
แสงและประโยชน์ของแสง                      แสงเป็นพลังงานรูปหนึ่งซึ่งไม่ต้องการที่อยู่  ไม่มีน้ำหนัก แต่สามารถทำงานได้ในแสงอาทิตย์มีคลื่นรังสีหลายชนิดตามที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้น  ประโยชน์ที่เราได้รับจากแสงอาทิตย์มีอยู่การฆ่าเชื้อโรคในน้ำดื่มต้องอาศัยความร้อนจากแสงอาทิตย์ การแสดงหนังตะลุง และภาพยนตร์ประทาน ก็ได้รับการถ่ายทอดพลังงานมาจากแสงอาทิตย์การเดินทางของแสง          แสงส่องผ่านละอองน้ำในอากาศ ทำให้แสงสีต่าง ๆ เกิดการหักเหขึ้น จึงเห็นเป็นแถบสีต่าง ๆ ปรากฏขึ้นบน 2ส่วนคือความร้อนและแสงสว่างในชีวิตประจำวันเราได้รับประโยชน์จากความร้อน และแสงสว่างของดวงอาทิตย์ตลอดเวลา แสงอาทิตย์ทำให้โลกสว่าง เราสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างสะดวกอาชีพหลายอาชีพต้องใช้ความร้อนของแสงอาทิตย์โดยตรงแม้ตอนที่ดวงอาทิตย์ตกดินเราก็ยังได้รับความอบอุ่นจากแสงอาทิตย์ที่พื้นโลกดูดซับไว้ทำให้เราไม่หนาวตาย  ประโยชน์ของแสงสามารถแบ่งได้เป็นสองทาง คือ ประโยชน์ทางตรงและประโยชน์ทางอ้อม1. ประโยชน์จากแสงทางตรง   เช่น  การทำนาเกลือ  การทำอาหารตากแห้ง  การตากผ้า ต้องใช้แสงเพื่อทำให้เกิดเงาบนจอ  การมองเห็นก็ถือเป็นการใช้ประโยชน์จากแสงทางตรง2.ประโยชน์จากแสงทางอ้อม เช่น ทำให้เกิดวัฏจักรของน้ำ (การเกิดฝน) พืชและสัตว์ที่เรารับลำแสงเล็ก ๆ เรียกว่า รังสีของแสงแสดงว่า แสงเดินทางเป็นเส้นตรงออกจากแหล่งกำเนิดแสงทุกทิศทุกทาง  แสงเดินทางจากแหล่งกำเนิดทุกทิศทางและเคลื่อนที่เป็นส่วนตรง แสงไม่ต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่



การเกิดรุ้งกินน้ำ



รุ้งกินน้ำ เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นหลังจากฝนตก โดยเกิดขึ้นจากแสงแดดท้องฟ้า รุ้งปฐมภูมิจะประกอบด้วยสีม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด และแดง โดยมีสีม่วงอยู่ชั้นในสุดและสีแดงอยู่ชั้นนอกสุด ส่วนรุ้งทุติยภูมิจะมีสีเช่นเดียวกันแต่เรียงลำดับในทิศทางตรงกันข้าม

  •  หลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้ถามว่าเมื่อเราดู VCD  จบแล้วว่าได้เนื้อหาอะไรบ้าง และในเนื้อหามีอะไรที่สำคัญบ้าง แล้วให้นักศึกษาช่วยกันคิดแสดงความคิดเห็นร่วมกัน โดยสรุปได้เป้น My Map ดังนี้
   


สัปดาห์ที่2 (19/06/56)

  • อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 6 คนแล้วนั่งเป็นกลุ่ม จากนั้นอาจารย์ให้ชีสใบงานแต่ละกลุ่ม กลุ่มละหนึ่งหัวข้อและให้แต่ละกลุ่มทำความเข้าใจหัวข้อทุกหัวข้อ โดยให้สมาชิกในกลุ่มทุกคนปรึกษาหารือกันและสรุปลงใบงาน
กลุ่มที่ 1 ความหมายของวิทยาศาสตร์

กลุ่มที่ 2 ความสำคัญของวิทยาศาสตร์

กลุ่มที่ 3 พัฒนาการทางสติปัญญาทางวิทยาศาสตร์

กลุ่มที่ 4 การเรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์

กลุ่มที่ 5 แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (กลุ่มของดิฉันเอง)

กลุ่มที่ 6 กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผลผลิตทางวิทยาศาสตร์
  •      จากนั้นก็ให้แต่กลุ่มให้ส่งตัวแทนเพื่อแลกข้อมูลกันของแต่ละกลุ่ม แล้วให้ออกไปนำเสนอ ความต่างและความเหมือนในแต่ละหัวข้อ

  สรุปความคิดของกลุ่มที่ 5   


แนวคิดพื้นฐานทางวิทย์ศาสตร์
          เกรก ได้ให้แนวคิด 5 ประการ Graig”s Basic Concepts มีลักษณะรวมที่สำคัญ 5 ประการ คือ
1. การเปลี่ยนแปลง ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น เด็กจึงแลเห็นและเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น เวลา น้ำหนักของเด็ก และสิ่งอื่นๆที่อยู่รอบตัว
2. ความแตกต่าง ให้เด็กสังเกตสิ่งต่างๆรอบๆตัว
3. การปรับตัว ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ครูจึงให้เด็กสังเกตถึงธรรมชาติที่อยู่รอบๆตัว เช่นจิ้งจกจะเปลี่ยนสีที่เกาะตามผนัง
4. การพึ่งพาอาศัยกัน ทุกสิ่งทุกอย่างต้องพึ่งพาอาศัยกัน เช่น คนกับเงิน นกเอี้ยงกับควาย
ครูจึงควรให้เด็กแลเห็นธรรมชาติเพื่อให้สามารถปรับตัวได้
5. ความสมดุล ทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีความสมดุลกัน เช่น ปลาอยู่ในน้ำ นกบินได้ เด็กควรมีความเข้าใจถึงธรรมชาติประเภทนี้ เพื่อให้ตนเองเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ สามารถรักษาสมดุลไว้ได้
          แนวคิดพื้นฐานทั้ง 5 ประการนี้ จะช่วยให้ครูเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับธรรมชาติของวิชาและให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้ตามธรรมชาติ ซึ่งตนเองจะเป็นสมาชิกอยู่




สัปดาห์ที่1 (12/06/56)

1. อาจารย์ได้พูดถึงนักศึกษาคนใดที่ติด i หรือติด F ให้รีบไปติดต่อเพื่อตามแก้กับอาจารย์ ถ้าค้างไว้นานจะไม่เป็นผลดีแก่นักศึกษาและคนไหนที่ติด i กับอาจารย์ อาจารย์ก็ได้นัดให้ไปพบที่ห้องทุกวันในเวลา 17:00 น.
2. เรื่องการทำบล็อก อาจารย์ได้อธิบายกับการสร้างบล็อกเพื่อเป็นแฟ้มสะสมงานที่อาจารย์จะได้ประเมินในรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย รวมถึงวิธีการเขียนบันทึกการเข้าเรียนในแต่ละครั้งลงบล็อกว่าจะต้องเขียนอย่างไรบ้าง การสร้างบล็อกก็มีจะองค์ประกอบดังนี้ 
  • ชื่อและคำอธิบายบล็อก
  • รูปและข้อมูลผู้เรียน
  • ปฎิทินและนาฬิกา
         เพิ่มเติม นักศึกษาจะต้องเชื่องโยงบล็อกอาจารย์ผู้สอน,หน่วยงานการสนับสนุน,แนวการสอน,งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์,บทความ,สื่อที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์(เพลง,เกม,นิทาน,แบบฝึกหัด,ของเล่นหรือการทดลอง)

3. ได้อธิบายรายละเอียดใน Course Syllabus ของรายวิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย4. เราได้สร้างข้อตกลงการเรียนวิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • ทุกครั้งที่เรียนจะตรวจสอบรายชื่อและการแต่งกายทุกครั้ง
  • ไม่ใช้โทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์สื่อสารอื่นใดในเวลาเรียน
  • มาเรียนเกิน 15 นาทีจะถือว่ามาสาย สาย 3 ครั้ง ถือว่าเป็นขาด 1 ครั้ง
  • งานที่มอบหมายต้องส่งตรงตามเวลาที่กำหนด
  • งานกลุ่มต้องปฏิบัติตามเกณฑ์โดยเคร่งครัด
  • ปฏิบัติตนเป็นนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัยที่ดี