วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปบทความเรื่อง การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย



สรุปบทความเรื่อง การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

          การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการสอนข้อความรู้ ซึ่งต่างจากการสอนให้รู้ข้อความรู้ตรงที่การสอนข้อความรู้ต้องการความสนใจ การสังเกต การจำ และการเรียกความจำจากความเข้าใจถ่ายโยงได้ ไม่ใช่การท่องจำซึ่งตรงกับการเรียนวิทยาศาสตร์ที่เป็นการเรียนรู้จากการให้คิดและมีเหตุผล เกิดการเข้าใจมโนทัศน์ เชื่อสานข้อมูลประยุกต์ และสรุปเป็นข้อความรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งในการเรียนวิทยาศาสตร์เด็กต้องพัฒนาทักษะการคิดเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปให้ได้ ตัวอย่าง เช่น เด็กเรียนเรื่องเต่ากับหนู โดยการศึกษาเปรียบเทียบ ค้นหาข้อแตกต่างและข้อเหมือน และนำไปสู่ข้อสรุปว่า เต่ามีลักษณะอย่างไร หนูมีลักษณะอย่างไร (Hendrick, 1998 : 42) ดังนั้นการเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจึงมิใช่การสอนให้รู้ข้อความรู้ เพราะเด็กไม่สามารถรับความรู้นามธรรมได้ เด็กปฐมวัยต้องเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากประสบการณ์
          การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กและธรรมชาติเป็นสาระหลักสำหรับเด็กปฐมวัยในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ดร.ดินา สตาเคิล (Dina Stachel) ของมหาวิทยาลัยเทอาวีพ ประเทศอิสราเอล ได้พัฒนาโปรแกรมมาทาลขึ้น เพื่อใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยเน้นให้เด็กมีความสนุกกับการเรียน รู้จักสร้างสรรค์และคิดสร้างสรรค์ สาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กเรียนจำแนกเป็น 4 หน่วย ดังนี้ (สตาเคิล, 2542 : 12)
หน่วยที่ 1 การสังเกตโลกรอบตัว

หน่วยที่ 2 การรับรู้ทางประสาทสัมผัสและการเรียนรู้
หน่วยที่ 3 รู้ทรงและสิ่งที่เกี่ยวข้อง
หน่วยที่ 4 การจัดหมู่และการจำแนกประเภท
          ในการเรียนหน่วยวิทยาศาสตร์ทั้ง 4 หน่วยดังกล่าว เด็กต้องใช้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ทักษะการสังเกต การจำแนกประเภท การสื่อความหมายและทักษะการลงความเห็นการเรียนวิทยาศาสตร์ไม่ใช่การเปรียบเทียบมิติเดียวเหมือนอย่างเช่นคณิตศาสตร์ แต่การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อหาข้อสรุปคำตอบ ซึ่งเด็กสามารถเรียนรู้วิทยาศาสตร์รอบตัวได้ หากครูจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการเด็ก


ลิงค์บทความ

สรุปโทรทัศน์ครูเรื่อง จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย อ.เฉลิมชัย


จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย อ.เฉลิมชัย

ชื่อหน่วยการเรียนรู้ "เสียงมาจากไหน"

     เสียง เกิดจากการสั่นของแหล่งกำเนิดเสียงและเคลื่อนที่จากแหล่งกำเนิดเสียงทุกทิศทุกทางโดยอาศัยตัวกลางพลังงานจากการสั่นไปยังเยื่อแก้วหูและส่งสัญญาณไปยังสมอง ทำให้เกิดได้ยินเสียง 

     แหล่งกำเนิดเสียงที่สั่นด้วยความถี่ต่ำจะทำให้เกิดเสียงต่ำหรือเสียงทุ้ม แต่ถ้าแหล่งกำเนิดเสียงสั่นด้วยความถี่สูงจะเกิดเสียงสูงหรือเสียงแหลม มนุษย์จะได้ยินเสียงที่มีความถี่ระหว่าง 20 – 20,000 เฮิรตซ์ เสียงดนตรีมีระดับเสียงสูงต่าแตกต่างกัน ถ้าเสียงความถี่หนึ่ง ๆ มาถึงหูมีพลังงานมากจะทำให้ได้ยินเสียงดังมากกว่าเสียงที่มีพลังงานน้อย 

     เสียง เป็นพลังงานอย่างหนึ่งที่เกิดจากการสั่นจากวัตถุที่เป็นแหล่งกำเนิดเสียงโดยอาศัยตัวกลาง ซึ่งได้แก่ ของแข็ง ของเหลว และอากาศ

     เกิดจากการสั่นของวัตถุด้วยความถี่สูงจะเกิดเสียงสูงหรือเสียงแหลม แต่ถ้าเกิดสั่นของวัตถุด้วยความถี่ต่าจะเกิดเสียงต่ำหรือเสียงทุ้ม ความถี่มีหน่วยเป็นเฮิรตซ์ ถ้าวัตถุสั่นด้วยพลังงานมากเสียงจะดังมาก ถ้าวัตถุสั่นด้วยพลังงานน้อยจะเกิดเสียงค่อย ความดังมีหน่วยเป็นเดซิเบล

คำถามที่ครูใช้ถามเด็ก

1.เสียงเกิดจากอะไร 
2.ตัวกลางเสียงได้แก่อะไรบ้าง 
3.เสียงสูงเสียงต่ำเกิดจากอะไร 
4.เสียงดังเสียงค่อยเกิดจากอะไร

กิจกรรม

1.ครูและนักเรียนแสดงการทดลองวิทยาศาสตร์ (science show )เรื่องเสียง.เช่นเสียงคลื่นจากเมล็ดถั่วเขียว. เสียงการสั่นของแม่เหล็ก..เสียงดนตรีจากกระป๋องน้าอัดลมเพื่อเร้าความสนใจให้กับนักเรียน จากนั้นให้นักเรียนตอบคาถามว่าเป็นเสียงอะไร ครูทดลองเสียงหลายๆแบบ จากนั้นครูเป่าแตรกระป๋องให้เกิดเสียง ให้นักเรียนซักถามแตรกรกระป๋องเกิดเสียงได้อย่างไร 
2.ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับเสียง ว่าถ้าไม่ได้ยินเสียงจะเกิดอะไรขึ้น โดยใช้คาถาม จากคาถามสร้างพลังความคิด และคาถามประจาหน่วยการเรียนรู้ให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น 
3.ครูให้นักเรียนเอามือจับลาคอแล้วให้นักเรียนพูด เกิดอะไรขึ้นที่ลาคอ จากนั้นให้นักเรียน 1 คนออกมาทดลองหน้าห้องโดยโรยเกลือลงบนแผ่นพลาสติกที่มัดให้ตึงกับตะกร้าแล้วตะโกนลงบนแผ่นพลาสติกว่าเกิดอะไรขึ้นกับเม็ดเกลือ ( เม็ดเกลือสั่น ) แล้วเกิดเสียง หรือให้นักเรียนใช้มือถูกับขอบแก้วทรงสูง จะเกิดอะไรขึ้น 
4. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับเสียงเดินทางอย่างไร (เสียงผ่านตัวกลาง) เช่นครูพูดกับนักเรียน นักเรียนได้ยินเสียง เสียงเดินทางผ่านตัวกลางอะไร จากนั้นครูให้นักเรียน 2 คน ออกมาพูดโทรศัพท์กระป๋องโดยใช้สายโทรศัพท์เส้นเชือก เส้นเอ็น เส้นลวด แล้วฟังเสียง ที่เดินทางมายังหูได้ยินชัดหรือไม่ ครูซักถามว่าเสียงเดินทางอย่างไร ให้นักเรียนในห้องแสดงความคิดเห็น ( ถ้านักเรียนสนใจอยากทดลองนอกห้องก็ให้ทดลองนอกห้องเรียน) 
5.ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มดีดสายยางรัดของที่ตึงกับตะปู เคาะส้อมเสียงแล้วฟังเสียง เกิดเสียงอย่างไร การเคาะขวดที่มีน้า และเคาะขวดที่ไม่มีน้า ครูอธิบายเพิ่มเติมการสั่นเร็วสั่นสั่นช้าของวัตถุ ว่าเกิดเสียงอย่างไร ( เกิดเสียงสูงต่า เสียงดังเสียงค่อย ) 
6.ให้นักเรียนสร้างสรรค์เสียงจากกระป๋อง โดยครูอธิบายวิธีการทำแตรกระป๋อง จากนั้นให้นักเรียนทุกกลุ่มสร้างแตรกระป๋องที่นักเรียนเตรียมมา เมื่อทำแตรกระป๋องเสร็จให้ออกมาเป่าเป็นเสียงต่างๆ ให้เพื่อนจินตนาการและทายว่าเป็นเสียงอะไร ครูส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์โดยให้ตัวแทนนักเรียนออกมาเป่าแตรกระป๋องเป็นเสียงดนตรี
7.ครูซักถามนักเรียนประโยชน์ที่ได้จากการนำกระป๋องมาทำเป็นเสียงดนตรี ว่าให้ประโยชน์อย่างไร แล้วให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดการออกแบบโครงงานการทำโทรศัพท์กระป๋อง 
8.ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปเกี่ยวกับเรื่องเสียง การเกิดเสียง ตัวกลางเสียง และเสียงสูงต่า เสียงดังเสียงค่อย จากนั้นให้นักเรียนไปทำสิ่งประดิษฐ์ที่ทำให้เกิดเสียง แล้วส่งในชั่วโมงต่อไป

สื่อและแหล่งเรียนรู้

1.คำถามชวนคิด
2.ขวดถั่วเขียว 
3.เกลือ 
4.ยางรัดของ 
5.ตะปู 
6.ส้อมเสียง 
7.ขวดใส่น้า 
8.แก้วทรงสูง 
9.อุปกรณ์การทาแตรกระป๋อง 
10.โทรศัพท์กระป๋อง
11.แบบฝึกหัด 



สรุปวิจัยเรื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาตร์นอกห้องเรียน


สรุปวิจัยเรื่อง 

ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม
กระบวนการทางวิทยาศาตร์นอกห้องเรียน

  • การจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
          กระบวนการทางวิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นประเด็นที่สำคัญต่อการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาตร์ให้เด็ก คือ การเปิดโอกาสให้เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยการสัมผัส จับต้อง ดม ชม ได้ยินโดยในการสังเกต การสำรวจ การค้นคว้า การทดลอง หรือจะนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ด้วยก็ได้(การกำหนดปัญหา การตั้งสมมุติฐาน การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ และการสรุปผลประเมินผล) หรือจะการถามคำถามเกี่ยวกับประสบการณ์ที่เด็กได้รับด้วย เพราะจะทำให้เด็กมีพัฒนาการคิด รู้จักหาคำตอบแบบวิทยาศาสตร์และวิเคราะห์อย่างเป็นระบบได้
          การที่พาเด็กไปศึกษาเรียนรู้ดูชีวิตจริง สถานที่จริงนั้นเด็กจะได้รับประสบการณ์ตรงกับสถานที่และสิ่งที่ไปศึกษาจริง แล้วจะทำให้เด็กยังได้รับประสบการณ์อย่างกว้างขว้าง เกิดความสนุกสนานตื่นเต้นอีกด้วย
          การจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนนั้นมีหลายขั้นตอน ดังนั้นควรพิจารณาองค์ประกอบของกิจกรรมที่เหมาะสำหรับการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยในแต่ละช่วงวัย และในการจัดกิจกรรมนั้นจะต้องจัดให้หลากหลายครอบคลุมกับองค์ประกอบของกิจกรรม แต่ในทั้งนี้การจัดกิจกรรมให้กับเด็กก็จะต้องควรคำนึงถึงความสนใจ ความพร้อม และความสามรถของเด็กด้วย 


ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ระดับพื้นฐาน
  1. การสังเกต (Obervation)
  2. การวัด (Measurenent)
  3. การจําแนกประเภท (Classification)
  4. การหาความสัมพันธ์ระหวางสเปสกับสเปสและสเปสกบเวลา  (Spacs / Spacs Reation and Space /Time Relation)
  5. การคํานวน(Using Number)
  6. การจัดทําและสื่อความหมายข้อมูล (Organizing Data and Communication)
  7. การลงความคิดเห็นจากข้อมูล(Infeaing)
  8. การพยากรณ์(Prediction)
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ระดับพัฒนาการ
  1. การตั้งสมมติฐาน (Formulating Hypothesis)
  2. การกาหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining Operation)
  3. การกาหนดและควบคุมตัวแปร (Identifying and Controlling Variables)
  4. การทดลอง(Experiment)
  5. การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป (Interperting Data and Making

การจัดประสบการณ์แบบการศึกษานอกสถานที่
          เป็นการจัดประสบการณ์การศึกษานอกห้องเรียน ทําให้เด็กได้ศึกษาจากสภาพจริงจากสภาพจริง สถานที จริง การออกไปสัมผัสพบสิ งเหล่านี 0 ทําให้เด็กสนุกสนาน อย่างไม่รู้จักเบื อหน่าย ได้รับความรู้และจดจําได้นาน

คุณค่าของการจัดประสบการณ์แบบการศึกษานอกสถานที่

  1. ช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรง
  2. ช่วยให้บทเรียนมีความหมายยิ่งขึ้น
  3. ช่วยให้ฝึกฝนระเบียบวินัย การตรงต่อเวลา และมนุษยสัมพันธ์
  4. ช่วยส่งเสริมการทำงานร่วมกันทั้งก่อนและหลังการทำกิจกรรมทัศนศึกษา
  5. ช่วยให้ผู้เรียนได้ร่วมกิจกรรมการเรียนอย่างเพลิดเพลิน
  6. ช่วยให้การเรียนรู้เป็นไปในลักษณะบูรณาการ
การจัดประสบการณ์แบบการศึกษานอกสถานที่ 
  1. การศึกษานอกสถานที่ในระยะใกล้
  2. การศึกษานอกสถานที่ในระยะทางขนาดกลาง
  3. การศึกษานอกสถานที่ในระยะทางไกล
ลิงค์วิจัย


วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่18 (29/09/56)





















- อาจารย์ให้นักศึกษานำสื่อทั้ง 3 ชิ้นมาส่ง ได้แก่ สื่อของเล่น การทดลอง สื่อเข้ามุม และให้นักศึกษานำการทดลองมาทดลองพร้อมนำเสนอวิธีการสอนให้อาจารย์ดูด้วย
- อาจารย์ก็ได้ชี้แจงเกี่ยวกับงานบล็อคให้นักศึกษาฟังว่า บล็อคอาจารย์จะตรวจวันที่10 ตุลาคม 2556 ซึ่งจะเป็นวันสอบปลายภาควันสุดท้าย ดังนั้นให้นักศึกษาไปทำบล็อคให้เรียบร้อย ในบล็อคก็จะต้อมีงวิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ 1 เรื่องพร้อมสรุป ,บทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ 1 เรื่องพร้อมสรุป ,โทรทัศน์ครูอีก 1 เรื่องพร้อมสรุป และพวกลิงค์ต่างๆ บันทึกการเข้ารียนก็จะต้องให้เรียบร้อย




สัปดาห์ที่17 (25/09/56)


อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคน สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับในการเรียนวิชานี้ 

          animated,display picture,display pictures,picture.graphic,paint.picture,displays,logo design,animate,graphics,background,cartooning,flash,images,ภาพเคลื่อนไหว ,ภาพเคลื่อนไหวน่ารักๆ,ภาพดุ๊กดิ๊ก

สัปดาห์ที่16 (18/09/56)

- อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรม "Cooking" หลังจากที่ได้เขียนแผนและนำเสนอแผนเกี่ยวกับการทำอาหารเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว วันที่ 15 กันยายน 2556

  ขั้นตอนการทำอาหาร "ไข่ตุ๋น"
  1. คุณครูให้เด็กๆนั่งเป็นครึ่งวงกลม
  2. คุณครูอธิบายขั้นตอนการทำ "ไข่ตุ๋น"

วิธีการทำไข่ตุ่น

  • เตรียมเครื่องต่างๆให้ครบ (หั่นแครอทเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าเล็กๆ , แกะข้าวโพดเตรียมไว้ , ซอยผักชีต้นหอมเพื่อใช้โรยหน้า
  • เอาถ้วยสำหรับตุ๋นไข่ เป็นถ้วยกระเบื้อง แบบสองชั้นพร้อมฝาปิดมีขายตามห้างทั้วไป (หากไม่มีก็ใช้ชามก้นลึกแล้วซ้อนกับชามใหญ่กว่า ใส่น้ำอีกใบ ปิดฝาด้วยแรบแทนได้) 
  • ตอกไข่ใส่ไป 2 ฟอง หรือมากเท่าจำนวนที่เราต้องการ  เติมน้ำซุปตามไปอีก 2.5 เท่าของปริมาณไข่ที่เราตอกใส่ไป
  • หลังจากเติมน้ำแล้ว ใช้ส้อมคนเบา อย่าให้เป็นฟองฟอด ปรุงรสตามใจชอบแล้วคนให้เข้ากัน
  • จากนั้นก็ เอาไข่ไปตุ๋นในหม้อข้าวหรือหม้อนึ่งไฟฟ้า
    ที่เตรียมมา ใช้เวลารวม 15-20 นาที 
  • นำเครื่องที่เตรียมไว้ในตอนแรกใส่ลงไป (เครื่องต่างๆ ควรทำให้สุกก่อนจะดีมากกว่าใส่ทั้งดิบๆ เพราะเราต้องเข้าไปเวฟอีกดีกว่า ไข่จะไม่เนียนเพราะให้ความร้อมนานและมากเกินไป)
  • เป็นอันเสร็จเรียบร้อยพร้อมรับประทาน ใช้เวลานานหน่อย แต่อร่อยคุ้ม :))

คุณครูใช้คำถาม ถามเด็กทุกครั้งในการทำอาหาร คำถามที่คุณครูใช้บ่อย คือ 
  1. เด็กๆค่ะ เด็กเห็นอะไรตรงข้างหน้าครูบ้างค่ะ
  2.  เด็กๆค่ะ ถ้าครูใส่อันนี้ลงไป (ส่วนประกอบของไข่ตุ๋น)เด็กๆคิดว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นค่ะ
  3. เด็กๆค่ะ เด็กๆเคยทานไข่ตุ๋นไหมค่ะ
ทักษะที่ได้รับ
  1.     ทักษะการประกอบอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย
  2.  ทักษะการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการประกอบอาหาร
การนำไปประยุกต์ใช้
  1. การจัดกิจกรรม cooking ให้กับเด็กปฐมวัย
  2. การบูรณาการวิทยาศาสตร์ให้เข้ากับกิจกรรมประจำวัน

สัปดาห์ที่15 (15/09/56)

- อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแก้ไขบล็อคของตัวเองให้เรียบร้อย
- ทำกิจกรรม "เขียนแผนการทำอาหาร" (กลุ่ม)

*ไม่ได้มาเรียนเนื่องจากไม่สบายค่ะ