วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปวิจัยเรื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาตร์นอกห้องเรียน


สรุปวิจัยเรื่อง 

ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม
กระบวนการทางวิทยาศาตร์นอกห้องเรียน

  • การจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
          กระบวนการทางวิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นประเด็นที่สำคัญต่อการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาตร์ให้เด็ก คือ การเปิดโอกาสให้เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยการสัมผัส จับต้อง ดม ชม ได้ยินโดยในการสังเกต การสำรวจ การค้นคว้า การทดลอง หรือจะนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ด้วยก็ได้(การกำหนดปัญหา การตั้งสมมุติฐาน การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ และการสรุปผลประเมินผล) หรือจะการถามคำถามเกี่ยวกับประสบการณ์ที่เด็กได้รับด้วย เพราะจะทำให้เด็กมีพัฒนาการคิด รู้จักหาคำตอบแบบวิทยาศาสตร์และวิเคราะห์อย่างเป็นระบบได้
          การที่พาเด็กไปศึกษาเรียนรู้ดูชีวิตจริง สถานที่จริงนั้นเด็กจะได้รับประสบการณ์ตรงกับสถานที่และสิ่งที่ไปศึกษาจริง แล้วจะทำให้เด็กยังได้รับประสบการณ์อย่างกว้างขว้าง เกิดความสนุกสนานตื่นเต้นอีกด้วย
          การจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนนั้นมีหลายขั้นตอน ดังนั้นควรพิจารณาองค์ประกอบของกิจกรรมที่เหมาะสำหรับการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยในแต่ละช่วงวัย และในการจัดกิจกรรมนั้นจะต้องจัดให้หลากหลายครอบคลุมกับองค์ประกอบของกิจกรรม แต่ในทั้งนี้การจัดกิจกรรมให้กับเด็กก็จะต้องควรคำนึงถึงความสนใจ ความพร้อม และความสามรถของเด็กด้วย 


ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ระดับพื้นฐาน
  1. การสังเกต (Obervation)
  2. การวัด (Measurenent)
  3. การจําแนกประเภท (Classification)
  4. การหาความสัมพันธ์ระหวางสเปสกับสเปสและสเปสกบเวลา  (Spacs / Spacs Reation and Space /Time Relation)
  5. การคํานวน(Using Number)
  6. การจัดทําและสื่อความหมายข้อมูล (Organizing Data and Communication)
  7. การลงความคิดเห็นจากข้อมูล(Infeaing)
  8. การพยากรณ์(Prediction)
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ระดับพัฒนาการ
  1. การตั้งสมมติฐาน (Formulating Hypothesis)
  2. การกาหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining Operation)
  3. การกาหนดและควบคุมตัวแปร (Identifying and Controlling Variables)
  4. การทดลอง(Experiment)
  5. การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป (Interperting Data and Making

การจัดประสบการณ์แบบการศึกษานอกสถานที่
          เป็นการจัดประสบการณ์การศึกษานอกห้องเรียน ทําให้เด็กได้ศึกษาจากสภาพจริงจากสภาพจริง สถานที จริง การออกไปสัมผัสพบสิ งเหล่านี 0 ทําให้เด็กสนุกสนาน อย่างไม่รู้จักเบื อหน่าย ได้รับความรู้และจดจําได้นาน

คุณค่าของการจัดประสบการณ์แบบการศึกษานอกสถานที่

  1. ช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรง
  2. ช่วยให้บทเรียนมีความหมายยิ่งขึ้น
  3. ช่วยให้ฝึกฝนระเบียบวินัย การตรงต่อเวลา และมนุษยสัมพันธ์
  4. ช่วยส่งเสริมการทำงานร่วมกันทั้งก่อนและหลังการทำกิจกรรมทัศนศึกษา
  5. ช่วยให้ผู้เรียนได้ร่วมกิจกรรมการเรียนอย่างเพลิดเพลิน
  6. ช่วยให้การเรียนรู้เป็นไปในลักษณะบูรณาการ
การจัดประสบการณ์แบบการศึกษานอกสถานที่ 
  1. การศึกษานอกสถานที่ในระยะใกล้
  2. การศึกษานอกสถานที่ในระยะทางขนาดกลาง
  3. การศึกษานอกสถานที่ในระยะทางไกล
ลิงค์วิจัย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น