วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่6 (17/07/56)

*ไม่มีการเรียนการสอน แต่อาจารย์ได้สั่งงานไว้คือ นักศึกษาคนไหนที่ยังเหลือสื่อวิทยาศาสตร์อันไหนที่ยังไม่ได้ส่งก็ให้โพสลงบล็อคของตัวเองในสัปดาห์นี้ สื่อมีทั้งหมด 3 ชิ้น คือ 
  1. สื่อของเล่น
  2. สือการทดลอง
  3. สื่อเข้ามุม
หัวข้อที่จะเขียนใส่ใบงานที่จะต้องแนบมากับสื่อ คือ
- ชื่อ
- อุปกรณ์
- การเล่น
- หลักการวิทยาศาสตร์
 # มีอะไรเพิ่มเติมก็ใส่ลงไปได้เลย ( ให้มีรูปภาพด้วย )




สื่อของเล่นวิทยาศาสตร์

     เวทีมวยไทย  


  

 อุปกรณ์
1.กล่อง
2.กระดาษสี
3.เชือกสำหรับตกแต่ง
4.กาวและกรรไกร
5.ไม้ไอติม
6.ที่เจาะรู(เป็นปากกาหรือคัตเตอร์ก็ได้)
7.ปากกาสีหรือกากเพชรชนิดผงสำหรับตกแต่ง
วิธีทำ
1.นำกระดาษสีมาห่อกล่องให้สวยงาม
2.วาดรูปนักมวย 2 คน แล้วระบายสีตกแต่งให้สวยงาม
3.เจาะกล่องด้านข้าง 2 ด้าน แล้วเอาไม่ไอติมเสียบลงไป(ข้างละ 1 ไม้)
4.นำไม้ไอติมมาตัดแบ่งครึ่ง แล้วนำไปติดบนกล่องทั้ง 4 มุม
5.นำเชือกสีมาพันรอบไม้ไอติมทั้ง 4 มุมแล้วติดกาวให้เรียบร้อย
6.นำปากกาสีหรือกากเพชรชนิดผงมาตกแต่งให้สวยงาม
7.นำนักมวยทั้ง 2 คนมาไว้บนกล่อง
วิธีการเล่น
เคาะไม้ทั้ง 2 ข้าง ให้ตัวมวยไทยเข้าหากันถ้าตัวไหนเป็นฝ่ายล้มก่อนฝ่ายนั้นคือผู้แพ้


 

สื่อของเล่นเข้ามุมวิทยาศาสตร์


    เขาวงกต   


อุปกรณ์
1.ฝากล่องกระดาษA4
2.กระดาษสี
3.กรรไกรหรือคัตเตอร์
4.กาว
5.ฟิวเจอร์บอร์ด
6.ปากกาหมึกดำ
7.ดินสอ ยางลบ ไม้บรรทัด
8.อุปกรณ์ตกแต่ง เช่น สติกเกอร์ สีน้ำหรือสีไม้ หรือจะวาดรูประบายสีแล้วมาติดตกแต่งก็ได้
9.ลูกแก้ว 1 ลูก
วิธีทำ
1.นำกระดาษสีมาห่อฝากล่องให้เรียบร้อย
2.นำฟิวเจอร์บอร์ดมาตัดเป็นสี่เหลี่ยมให้สามารถใส่ลงไปในฝากล่องA4ได้หลังจากนั้นก็ร่างแบบเขาวงกต โดยจะต้องตีตารางให้เป็นช่องสี่เหลี่ยมเหมือนกระดานหมากรุกก่อน แล้วค่อยวาดแบบเขาวงกตที่เราต้องการ
*จะต้องกำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดด้วย
3.พอได้แบบเขาวงกตแล้ว ก็นำฟิวเจอร์บอร์ดมาตัดให้เป็นกำแพงเขาวงกตตามแบบเลย โดยความสูงของฟิวเจอร์จะต้องไม่สูงเกินฝากล่องA4 (ต้องกะเอา)
4.พอตัดชิ้นส่วนของกำแพงเขาวงกตเสร็จ ก็นำชิ้นส่วนแต่ละชิ้นมาติดตามแบบให้เรียบร้อย
5.ทำเครื่องหมายตรงจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด แล้วก็ตกแต่งให้สวยงาม
วิธีการเล่น 
นำลูกแก้วมาวางไว้ตรงจุดเริ่มต้น แล้วใช้มือบังคับโดยการโยกกล่องไปมาแบบเบาๆจนให้ลูกแก้วไปถึงจุดสิ้นสุดให้ได้ แค่นั้นก็ชนะแล้ว


สัปดาห์ที่5 (10/07/56)

- อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคน เตรียมงานออกไปนำเสนอ สื่อประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ ของแต่ละคน ให้พร้อมและให้พูดถึงสิ่งที่เตรียมมาประดิษฐ์ เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างไร อาจารย์บอกว่าถ้าชิ้นงานชิ้นไหนซ้ำกับเพื่อนก็ต้องออกมานำเสนอ แต่งานชิิ้้นนักศึกษาต้องประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ (ห้ามซ้ำกับเพื่อน)
                       #ฉันทำมาผิด ฉันทำการทดลองมา แต่ไม่เป็นอาจารย์บอกว่าอาทิตย์หน้าให้ทำของเล่นมานำเสนอใหม่


MixDiary_cat_8.gifการทำภูเขาไฟจำลอง  MixDiary_cat_8.gif



ภูเขาไฟภูเขาไฟระเบิดนิยามเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ร้ายแรงอย่างหนึ่ง การระเบิดของภูเขาไฟนั้นแสดง ให้แห้นว่าใต้ผิวโลกของเราลงไประดับหนึ่ง มีความร้อนสะสมอยู่มากโดยเฉพาะที่เรียกว่า "จุดร้อน" ณบริเวณนี้มีหินหลอมละลายเรียกว่า แมกมา


อุปกรณ์ที่ต้องใช้ 
1.ภูเขาไฟจำลอง (ประดิษฐ์ขึ้นเอง) = ดินน้ำมัน ขวดน้ำขนาดเล็ก กระดานไม้อัด กาว อุปกรณ์ตกแต่ง
2.ผงฟู
3.น้ำส้มสายชู
4.สีผสมอาหาร (สีแดงหรือส้ม) 

วิธีการทำภูเขาไฟจำลอง 
1.นำขวดน้ำขนาดเล็กที่เตรียมไว้มาติดที่กระดานไม้อัดให้อยู่ตรงกึ่งกลาง
2.นำดินน้ำมันมาก่อให้เป็นรูปภูเขาไฟ
3.ตกแต่งบริเวณรอบภูเขาไฟให้สวยงาม

วิธีการทำการทดลอง
1.นำผงฟูใส่ลงในภูเขาไฟจำลองที่เตรียมมา
2.ใส่สีผสมอาหารตามลงไป 
3.เทน้ำส้มสายชูลงและรอประมาณ 10 วินาที จะเกิดเป็นฟองไหลออกมาคล้ายลาวาพร้อมกับอธิบายว่า “ฟองที่ไหลออกมานี้เกิดจากการที่น้ำส้มสายชูทำปฏิกิริยากับผงฟู จึงเกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์แล้วไหลออกมา”

สัปดาห์ที่4 (03/07/56)


- อาจารย์ให้นักศึกษาสังเกตของเล่นวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อว่า "กระบอกลุกปิงปอง" และช่วยกันแสดงความคิดเห็นว่า " กระบอกลูกปิงปองนี้ช่วยให้เด็กรับรู้ในเรื่องใด "


*กระบอกลูกปิงปอง สอนเรื่อง แสงทะลุผ่านทำให้มองเห็นลูกปิงปอง*


- ให้นักศึกษาทำสมุดเล่มเล็ก โดยการวาดภาพลงไปหน้าละ 1 ภาพ (ต้องเป็นภาพที่ต่อเนื่องกัน) 

- อาจารย์ให้ดู VDO เรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ และสรุปองค์ความรู้


ลิงค์VDOมหัศจรรย์ของน้ำ  =  http://www.youtube.com/watch?v=vjwkI8oXgg0



มหัศจรรย์ของน้ำ
น้ำเป็นส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิต  และร่างกายของคนเราเมื่อเสียเหงื่อออกมา  เหงื่อนั้นก็คือน้ำ
ที่อยู่ในร่างกายของเรานั่นเอง  น้ำยังช่วยปรับสมดุล  อุณหภูมิในร่างกาย  มนุษย์จึงสามารถขาดน้ำได้เพียง 3 วันเท่านั้น
คุณสมบัติของน้ำ
1.  จากของแข็ง  เป็น  ของเหลว
2.  จากของเหลว  เป็น  ของแข็ง
3.  จากก๊าซ     เป็น  ไอน้ำ
การเกิดฝน
     ฝน เกิดจากอนุภาคของไอน้ำขนาดต่างๆในก้อนเมฆ เมื่อรวมตัวจนมีขนาดใหญ่ขึ้นจนไม่สามารถลอยตัวอยู่ในก้อนเมฆได้ก็จะตกลงมาเป็นฝน  ฝนจะตกลงมายังพื้นดินได้นั้นจะต้องมีเมฆเกิดในท้องฟ้าก่อน เมฆมีอยู่หลายชนิด มีเมฆบางชนิดเท่านั้นที่ทำให้มีฝนตก ไอน้ำจะรวมตัวทำให้เกิด เป็นเมฆ เมฆจะกลั่นตัวเป็นน้ำฝนได้ก็ต้องมีอนุภาคแข็งตัวหรือเม็ดน้ำขนาดใหญ่ซึ่งจะดึงเม็ดน้ำขนาดเล็กมารวมตัว กันจนเป็นเม็ดฝนน้ำที่ตกลงมาจากท้องฟ้าอาจเป็นลักษณะของฝน หิมะ หรือลูกเห็บซึ่งเรารวมเรียกว่าน้ำฟ้า ซึ่งมันจะตกลง มาในลักษณะไหนก็ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของอากาศในพื้นที่นั้นพอฝนตดลงมาถึงพื้น จะมีการไหลของฝนไปรวมตัวกันใต้ดิน ดูดซับไว้ที่ผิวดิน ลงแหล่งน้ำเป็นต้น
     แสงอาทิตย์ที่สาดส่องลงมาที่พื้นโลกจะทำให้ น้ำเหล่านี้ระเหยขึ้นไปสู่ชั้นบรรยากาศอีกครั้ง ประกอบกับไอน้ำที่ได้จากกิจกรรมบางอย่างของสิ่งมีชีวิต เช่นการหายใจของพืช ไอน้ำในบรรยากาศนี้จะรวมตัวกันเป็นเมฆ และก่อให้เกิดฝนตามมาอีก เป็นวัฎจักรเช่นนี้เรื่อยไป
ทักษะที่ได้รับ
1. ทักษะการสรุปองค์ความรู้เป็นแผนผังความคิด
2.  ทักษะการคิด  ทดลอง  และหาข้อเท็จจริง
การนำไปประยุกต์ใช้
1.  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย
2.  การสรุปองค์ความรู้ในประเด็นหลักๆ และในเวลาที่กำหนด  โดยใช้แผนผังความคิด

สัปดาห์ที่3 (26/06/56)


  • อาจารย์ให้ดูและสรุป  VCD  เรื่องความลับของแสง



ลิงค์ VDO ความลับของแสง  =  http://www.youtube.com/watch?v=MPz2EK7PFL0

แสง    
         แสงคือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic wave) ประเภทหนึ่ง ซึ่งอยู่ในช่วงความยาวคลื่นที่สายตามนุษย์มองเห็น หรือบางครั้งอาจรวมถึงการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่นตั้งแต่รังสีอินฟราเรด (Infrared) ถึงรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) ด้วย
         ความถี่ของคลื่นแสงที่แตกต่างกันนั้นขึ้นอยู่กับความเร็วในการสั่นสะเทือน ถ้าหากคลื่นแสงยิ่งมีความสั่นสะเทือนมากก็จะยิ่งมีความถี่มากแต่ความยาวคลื่นก็จะยิ่งน้อย โดยแสงที่เรามองเห็นได้นั้นเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ในระดับที่ดวงตาของมนุษย์สามารถมองเห็นได้ ซึ่งปกติแล้วแสงจะเคลื่อนที่ในสุญญากาศด้วยความเร็ว 299,792,458 เมตรต่อวินาที

จำแนกวัตถุตามการส่องผ่านของแสง ได้ดังนี้

  • วัตถุโปร่งใส คือ วัตถุที่ยอมให้แสงส่องทะลุผ่านได้โดยง่าย
  • วัตถุโปร่งแสง คือ วัตถุที่ยอมให้แสงผ่านไปได้เพียงบางส่วน
  • วัตถุทึบแสง คือ วัตถุที่ไม่ยอมให้แสงผ่านไปได้เลย
แสงและประโยชน์ของแสง                      แสงเป็นพลังงานรูปหนึ่งซึ่งไม่ต้องการที่อยู่  ไม่มีน้ำหนัก แต่สามารถทำงานได้ในแสงอาทิตย์มีคลื่นรังสีหลายชนิดตามที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้น  ประโยชน์ที่เราได้รับจากแสงอาทิตย์มีอยู่การฆ่าเชื้อโรคในน้ำดื่มต้องอาศัยความร้อนจากแสงอาทิตย์ การแสดงหนังตะลุง และภาพยนตร์ประทาน ก็ได้รับการถ่ายทอดพลังงานมาจากแสงอาทิตย์การเดินทางของแสง          แสงส่องผ่านละอองน้ำในอากาศ ทำให้แสงสีต่าง ๆ เกิดการหักเหขึ้น จึงเห็นเป็นแถบสีต่าง ๆ ปรากฏขึ้นบน 2ส่วนคือความร้อนและแสงสว่างในชีวิตประจำวันเราได้รับประโยชน์จากความร้อน และแสงสว่างของดวงอาทิตย์ตลอดเวลา แสงอาทิตย์ทำให้โลกสว่าง เราสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างสะดวกอาชีพหลายอาชีพต้องใช้ความร้อนของแสงอาทิตย์โดยตรงแม้ตอนที่ดวงอาทิตย์ตกดินเราก็ยังได้รับความอบอุ่นจากแสงอาทิตย์ที่พื้นโลกดูดซับไว้ทำให้เราไม่หนาวตาย  ประโยชน์ของแสงสามารถแบ่งได้เป็นสองทาง คือ ประโยชน์ทางตรงและประโยชน์ทางอ้อม1. ประโยชน์จากแสงทางตรง   เช่น  การทำนาเกลือ  การทำอาหารตากแห้ง  การตากผ้า ต้องใช้แสงเพื่อทำให้เกิดเงาบนจอ  การมองเห็นก็ถือเป็นการใช้ประโยชน์จากแสงทางตรง2.ประโยชน์จากแสงทางอ้อม เช่น ทำให้เกิดวัฏจักรของน้ำ (การเกิดฝน) พืชและสัตว์ที่เรารับลำแสงเล็ก ๆ เรียกว่า รังสีของแสงแสดงว่า แสงเดินทางเป็นเส้นตรงออกจากแหล่งกำเนิดแสงทุกทิศทุกทาง  แสงเดินทางจากแหล่งกำเนิดทุกทิศทางและเคลื่อนที่เป็นส่วนตรง แสงไม่ต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่



การเกิดรุ้งกินน้ำ



รุ้งกินน้ำ เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นหลังจากฝนตก โดยเกิดขึ้นจากแสงแดดท้องฟ้า รุ้งปฐมภูมิจะประกอบด้วยสีม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด และแดง โดยมีสีม่วงอยู่ชั้นในสุดและสีแดงอยู่ชั้นนอกสุด ส่วนรุ้งทุติยภูมิจะมีสีเช่นเดียวกันแต่เรียงลำดับในทิศทางตรงกันข้าม

  •  หลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้ถามว่าเมื่อเราดู VCD  จบแล้วว่าได้เนื้อหาอะไรบ้าง และในเนื้อหามีอะไรที่สำคัญบ้าง แล้วให้นักศึกษาช่วยกันคิดแสดงความคิดเห็นร่วมกัน โดยสรุปได้เป้น My Map ดังนี้
   


สัปดาห์ที่2 (19/06/56)

  • อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 6 คนแล้วนั่งเป็นกลุ่ม จากนั้นอาจารย์ให้ชีสใบงานแต่ละกลุ่ม กลุ่มละหนึ่งหัวข้อและให้แต่ละกลุ่มทำความเข้าใจหัวข้อทุกหัวข้อ โดยให้สมาชิกในกลุ่มทุกคนปรึกษาหารือกันและสรุปลงใบงาน
กลุ่มที่ 1 ความหมายของวิทยาศาสตร์

กลุ่มที่ 2 ความสำคัญของวิทยาศาสตร์

กลุ่มที่ 3 พัฒนาการทางสติปัญญาทางวิทยาศาสตร์

กลุ่มที่ 4 การเรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์

กลุ่มที่ 5 แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (กลุ่มของดิฉันเอง)

กลุ่มที่ 6 กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผลผลิตทางวิทยาศาสตร์
  •      จากนั้นก็ให้แต่กลุ่มให้ส่งตัวแทนเพื่อแลกข้อมูลกันของแต่ละกลุ่ม แล้วให้ออกไปนำเสนอ ความต่างและความเหมือนในแต่ละหัวข้อ

  สรุปความคิดของกลุ่มที่ 5   


แนวคิดพื้นฐานทางวิทย์ศาสตร์
          เกรก ได้ให้แนวคิด 5 ประการ Graig”s Basic Concepts มีลักษณะรวมที่สำคัญ 5 ประการ คือ
1. การเปลี่ยนแปลง ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น เด็กจึงแลเห็นและเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น เวลา น้ำหนักของเด็ก และสิ่งอื่นๆที่อยู่รอบตัว
2. ความแตกต่าง ให้เด็กสังเกตสิ่งต่างๆรอบๆตัว
3. การปรับตัว ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ครูจึงให้เด็กสังเกตถึงธรรมชาติที่อยู่รอบๆตัว เช่นจิ้งจกจะเปลี่ยนสีที่เกาะตามผนัง
4. การพึ่งพาอาศัยกัน ทุกสิ่งทุกอย่างต้องพึ่งพาอาศัยกัน เช่น คนกับเงิน นกเอี้ยงกับควาย
ครูจึงควรให้เด็กแลเห็นธรรมชาติเพื่อให้สามารถปรับตัวได้
5. ความสมดุล ทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีความสมดุลกัน เช่น ปลาอยู่ในน้ำ นกบินได้ เด็กควรมีความเข้าใจถึงธรรมชาติประเภทนี้ เพื่อให้ตนเองเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ สามารถรักษาสมดุลไว้ได้
          แนวคิดพื้นฐานทั้ง 5 ประการนี้ จะช่วยให้ครูเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับธรรมชาติของวิชาและให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้ตามธรรมชาติ ซึ่งตนเองจะเป็นสมาชิกอยู่




สัปดาห์ที่1 (12/06/56)

1. อาจารย์ได้พูดถึงนักศึกษาคนใดที่ติด i หรือติด F ให้รีบไปติดต่อเพื่อตามแก้กับอาจารย์ ถ้าค้างไว้นานจะไม่เป็นผลดีแก่นักศึกษาและคนไหนที่ติด i กับอาจารย์ อาจารย์ก็ได้นัดให้ไปพบที่ห้องทุกวันในเวลา 17:00 น.
2. เรื่องการทำบล็อก อาจารย์ได้อธิบายกับการสร้างบล็อกเพื่อเป็นแฟ้มสะสมงานที่อาจารย์จะได้ประเมินในรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย รวมถึงวิธีการเขียนบันทึกการเข้าเรียนในแต่ละครั้งลงบล็อกว่าจะต้องเขียนอย่างไรบ้าง การสร้างบล็อกก็มีจะองค์ประกอบดังนี้ 
  • ชื่อและคำอธิบายบล็อก
  • รูปและข้อมูลผู้เรียน
  • ปฎิทินและนาฬิกา
         เพิ่มเติม นักศึกษาจะต้องเชื่องโยงบล็อกอาจารย์ผู้สอน,หน่วยงานการสนับสนุน,แนวการสอน,งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์,บทความ,สื่อที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์(เพลง,เกม,นิทาน,แบบฝึกหัด,ของเล่นหรือการทดลอง)

3. ได้อธิบายรายละเอียดใน Course Syllabus ของรายวิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย4. เราได้สร้างข้อตกลงการเรียนวิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • ทุกครั้งที่เรียนจะตรวจสอบรายชื่อและการแต่งกายทุกครั้ง
  • ไม่ใช้โทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์สื่อสารอื่นใดในเวลาเรียน
  • มาเรียนเกิน 15 นาทีจะถือว่ามาสาย สาย 3 ครั้ง ถือว่าเป็นขาด 1 ครั้ง
  • งานที่มอบหมายต้องส่งตรงตามเวลาที่กำหนด
  • งานกลุ่มต้องปฏิบัติตามเกณฑ์โดยเคร่งครัด
  • ปฏิบัติตนเป็นนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัยที่ดี